ประวัติความเป็นมาของสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตได้รับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตและได้รับการอนุมัติให้หลักสูตรฯ เปิดดำเนินการได้ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2548และคณะกรรมการร่างหลักสูตร ได้ดำเนินการยื่นเรื่องขออนุมัติเปิดดำเนินการหลักสูตร ต่อคณะกรรมการ การอุดมศึกษาทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 คณะกรรมการการอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย รับรองมาตรฐาน หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 โดยหลักสูตรมีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีประสิทธิภาพในด้านการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพต่างๆที่ปัจจุบันยังขาดแคลนจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการของโลกธุรกิจในยุคโลกาภิวัตน์ โดยจัดการเรียนการสอน เป็นวิชา เอกภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ มีรายวิชาโทให้นักศึกษาได้เลือกเรียนตามความถนัด จำนวน 3 รายวิชา คือวิชาโทการสอนภาษาอังกฤษ (Teaching English) วิชาโทบริหารธุรกิจด้านการตลาด (Marketing) และ วิชาโท คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) มุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิต ให้มีศักยภาพ ในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร โดยจัดการเรียนการสอนรายวิชาพื้นฐาน และ รายวิชาโทสำหรับสื่อที่ใช้ใน การเรียนการสอนนั้นเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีบัณฑิตจบการศึกษาแล้ว 6 รุ่น
ปรัชญาของหลักสูตรมีลักษณะบูรณาการเชิงประยุกต์โดยนำศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาเป็นหลักสูตรวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารที่ทันสมัยเน้นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ครอบคลุมการวางแผนและการพัฒนาการบริหารการสื่อสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการอนุรักษ์ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ ที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ของภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ปณิธานของสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารคือ
วิสัยทัศน์ คือ สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมีความพร้อมในการผลิตบัณฑิตให้เป็นคนดี มีอัตลักษณ์ แบบไทย และใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างสากล
สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีพันธกิจ 4 ด้าน ประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาผู้เรียน การวิจัย และการบริการวิชาการ
อยู่ในระหว่างดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรปี 2554 โดยจะมีการเพิ่มวิชาโทให้มากขึ้น เพื่อให้นักศึกษาสามารถมีทางเลือกวิชาโทได้หลากหลายมากขึ้น นำไปสู่การทันสมัย และความสอดคล้องของตลาดแรงงานปัจจุบัน
ดำเนินการด้านการเรียนการสอน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เป็นคนดี มีบุคลิกดี มีความเป็นไทย มีวินัย ขยัน อดทน และมีความสุข
มีแผนงานการส่งเสริมให้อาจารย์ของสาขาฯ ได้เข้ารับการอบรมเพี่อให้มีความพร้อมในการทำวิจัย ในการลงมือวางแผนการทำวิจัย และลงมือการทำวิจัยอย่างมีหลักการที่ถูกต้องและมีจรรยาบรรณในการเป็นนักวิจัยที่ดี
มีแผนบริการด้านวิชาการแก่สังคมเพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และเพื่อสนองความต้องการของสังคมในการให้บริการวิชาการในด้านต่างๆ
สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเป็นสาขาฯ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ติด ใน 1 ของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย มีสาขาวิชาที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในเอเชีย (Asian Recognition) มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ที่สร้างสรรค์ทางเลือกให้กับสังคม มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่เป็นนักปฏิบัติเชิงรุก (Proactive Practitioner) สามารถทำงานในสังคมพลวัตและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สาขาฯ มีคำขวัญในการปฏิบัติงานให้สาขาฯ เป็นสาขาฯ ที่มีมาตรฐานและมีเอกลักษณ์ โดดเด่นเพิ่มเติมจากมาตรฐาน ของมหาวิทยาลัยดังนี้
“แหล่งเรียนแสนสุข บุคลิกภาพเด่น เน้นภาษา พัฒนาวิชาการ เชี่ยวชาญวิชาชีพ ปลูกจิตบริการ”
สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มุ่งหวังให้บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเป็นนักปฏิบัติเชิงรุก (Proactive Practitioner) มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์สำคัญ 5 ประการ (KASEM) ดังนี้
สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ดำเนินการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพพื้นฐานของเกณฑ์สมรรถนะ (Competency Based) ของมหาวิทยาลัย K-A-S-E-M และมีความเป็นเลิศในสาขาวิชาชีพโดยเพิ่มเติมอัตลักษณ์ A-R-T-S ซึ่งมีความหมายดังนี้
A | = | Awesome Language | ภาษายอดเยี่ยม |
---|---|---|---|
R | = | Remarkable Personality | เปี่ยมบุคลิกภาพ |
T | = | Tactful Problem Solvers | นักแก้ปัญหาเฉพาะหน้า |
S | = | Service Mind | มีใจบริการ |